top of page

Valley of the Kings, Egypt

เดินทางช่วงกลางธันวาคม 2018 ระยะเวลา 1 วัน

เป็นส่วนหนึ่งของทริปยาว 12วันที่อียิปต์ อ่านเกี่ยวกับอียิปต์แบบเต็มที่ https://www.gooutseeworld.com/post/egypt

Valley of the Kings, Luxor, Egypt

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางไปอียิปต์ที่ใช้เวลา 12 วัน (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอียิปต์ https://www.gooutseeworld.com/post/egypt ) เนื่องจากส่วนนี้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษจึงแยกออกมาเป็นหัวข้อหนึ่ง ส่วนตัวเป็นคสที่ชื่นชอบงานศิลปะ และโดยเฉพาะภาพวาดแขนงต่างๆ โดยเฉพาะจิตกรรมฝาผนัง ความงามของหลุมฝังศพใน Valley of the Kings นั้นอยู่ที่ จารึกบนผนังในหลุมต่างๆ

Valley of the Kings, Luxor, Egypt

หุบเขาแห่งกษัติย์เดิมเป็นที่หลังเขาจริงๆ เหล่าฟาโรห์ไปสร้างสุสานไว้ เพื่อไม่ให้คนหาเจอและมารบกวนการหลับ แต่การใช้คนงานมากมายในการสร้างเป็นเวลาหลายยุคหลายศตวรรษ จะไล่ฆ่าปิดปากยังไงหมด คนงานก็ออกลูกหลานมาเป็นคนงานในหุบเขานี้ตั้งแต่อดีตกาล แต่โลกรู้จัก Valley of the Kings หุบเขาแห่งกษัติย์ จากการค้นพบหลุมศพที่สมบรูณ์ของ Tutankhamen ฟาโรห์ตุตันคาเมนในโดย นักสำรวจชาวอังกฤษ Howard Carter เรื่องราวของเขาทำให้คนทั่วโลกต้องการเดินทางไปอียิปต์ และหนังภาพยนต์มากมายมีโครงเรื่องจากเรื่องราวลึกลับในการค้นพบนี้

KV11, Valley of the Kings, Luxor, Egypt

หุบเขาแห่งกษัติย์เป็นหลุมศพของกษัตริย์และราชวงศ์ในราชอาณาจักรใหม่ New Kingdom (ตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 18 ถึง 20 ของอียิปต์โบราณ) ในหุบเขานี้พบหลุมศพึง 65 แห่ง ซึ่งแห่งที่ 63 หรือ KV63 เพิ่งค้นพบเมื่อปี 2005 นี้เอง (ตัว KV มาจาก King's Valley ซึ่งนักโบราณคดีทำเป็นสัญลักษณ์ไว้ในปี ค.ศ. 1827 ช่วงที่เริ่มมีการเข้าไปศึกษาอย่างจริงจัง และหมายเลขมาจากลำดับการค้นพบ) ปัจจุปันมีหลุมที่ให้เข้าเยี่ยมได้ 11 แห่ง นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเยี่ยมชมสุสานได้ 3 จาก 8 แห่งที่กำหนด และหลุมพิเศษอีก 3แห่ง มีบัตรต่างหาก ซึ่ง 1 ในหลุมพืเศษคือหลุมศพของ Tutankhamen ตุตันคามุน


KV 11 - Ramesses III

ในความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ เชื่อว่าฟาโรห์เป็นบุตรของเทพและจะกลับมามีชีวิตใหม่ ฉะนั้นสิ่งแรกที่ฟาโรห์ต้องทำเมื่อตื่นขึ้นมาวันแรกในฐานะฟาโรห์คือการสร้างสุสานของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะความเชื่อในชีวิตอมตะ และต้องเตรียมสมบัติมากมายที่ตัวเองชอบไว้ใช้เมื่อตื่นขึ้นมาใหม่อีก จึงต้องสะสมสมบัติ ฟาโรห์ที่ครองราชย์นานๆจะมีสุสานใหญ่โตมีห้องหลายห้องต่อเติมไปเรื่อยๆจนกว่าจะสิ้นพระชนมชีพ ภาระกิจสำคัญของฟาโรห์ส่วนใหญ่จะต้องเสียเวลาไปกับการเตรียมการพวกนี้ ถือว่ามองการณ์ไกลกันมากๆ และมีเหตุผลให้สะสมสมบัติใหม่ๆ ไม่มีตกทอดกัน ฟาโรห์ใหม่ก็หาใหม่ สมบัติที่เราเจอจึงอยู่ในสภาพใหม่เอี่ยม

Usermaatre-Meryamun หรือ Ramesses III ฟาโรห์รามเสสที่ 3 เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 20 และถือว่านำพาประเทศไปสู่ความรุ่งเรืองแผ่อำนาจไปมากในยุค New Kingdom ในชาวงการปกครองของพระองค์ทรงต้องสู้รบกับศัตรูภายนอกและปัญหาแย่งชิงบัลลังก์หลายครั้ง จนได้ชื่อว่าเป็นฟาโรห์ที่มีความสามารถทางการทหารมาก แต่สุดท้ายพระองค์จบชีวิตด้วยการถูกลอบสังหารโดยหนึ่งในสนมของพระองค์เอง ที่อยากให้ลูกชายของตนได้ขึ้นเป็นฟาโรห์ จากการชันสูตรมัมมี่ของฟาโรห์รามเสสที่ 3 พบรอยปาดที่คอ รามเสสที่ 3 ปกครองอียิปต์ได้ 31ปีพอดี

หลุมศพนี้คือหมายเลข KV11 เดิมเป็นหลุมที่พระบิดาฟาโรห์รามเสสที่ 3 ซึ่งคือ Setnakhte ฟาโรห์คนสุดท้ายของราชวงค์ที่ 19 เป็นผู้สร้าง แต่เมื่อก่อสร้างไปได้ 3ห้อง ดันไปขุดทะลุกับ KV10 ซึ่งเป็นหลุมของ Amenmesse จึงละทิ้งและไปสร้างจุดใหม่ แต่มาถึงยุคฟาโรห์รามเสสที่ 3 กลับเห็นว่าน่าจะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ จะได้ประหยัดเวลา แค่ขุดไปอีกทางก็พอ ซึ่งก็เป็นจริง ด้วยจำนวนปีที่ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 31ปี ทำให้หลุมศพนี้ยาวที่สุดในหุบเขานี้ มีความยาวถึง 180 เมตร นี่ถ้าไม่ได้ถูกลอบสังหารคงจะยิ่งยาวกว่านี้ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในหลุมศพนี้สวยงามอลังการมาก โดยเฉพาะภาพที่เกี่ยวกับเทพต่างๆของอียิปต์ ซึ่งจารึกตามคำบอกเล่าใน ฺBook of Dead และ Book of Gates ในห้องต่างๆ

จิตรกรรมฝาผนังตรงทางเข้า ส่วนใหญ่เป็นคำเตือนและคำสาปจาก Book of Dead และ Book of Gates เพื่อไม่ให้รบกวนสุสาน และที่เหลือเป็นจารึกถึงเรื่องราวสำคัญของฟาโรห์ ส่วนหลุมนี้จะมีจารึกแบบนี้ตรงเพดาน ลายห้าแชกที่เราเห็นเหมือนเครื่องหมายดอกจันทร์นี้คือรูปดาว และสีน้ำเงินคือท้องฟ้ายามค่ำคืน น่ารักมากเลยทีเดียว


KV 6 - Neferkare Ramesses IX

Amon-her-khepshef Khaemwaset หรือ Neferkare หรือ Ramesses IX ฟาโรห์รามเสสที่ 9 เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 20 ถือเป็นฟาโรห์ที่ครองราชย์ยาวนานองค์หนึ่ง ปกครองราว 18ปี และเป็นไปได้ว่าเป็นหลานสายตรงของฟาโรห์รามเสสที่ 3 ซึ่งเราได้ไปเยี่ยมชมสุสานก่อนหน้านี้

หลุมศพนี้ถูกเปิดตั้งแต่สมัยกรีก และถูกโจรกรรมหลายครั้งมาก มีร่องรอยความเสียหายมากหลายที่ในหลุมนี้ ถ้าจะพูดถึงเรื่อง Tomb Robbery การปล้นสุสาน มีมานานตั้งแต่ปีรามิดแรกถูกสร้าง (ปีรามิดก็เป็นที่ฝังศพ) บรรดาสมบัติทั้งหลายของฟาโรห์ผู้โด่งดังที่มีปีรามิดทั้งหลายก็ถูกปล้นหมดตั้งแต่ที่สร้างเสร็จไม่นาน และปล้นกันหลายๆรอบด้วย (กลัวว่ายังเอาไปไม่หมด) จึงเป็นเหตุที่ต้องมีคำสาบมากมายสลักไว้ทุกที่ แต่แล้วก็ยังไม่ไหวที่จะสกัดโจรอยู่ดี ปากท้องต้องมาก่อน ในยุค Middle Kingdom และ New Kingdom จึงย้ายจากการสร้างปีรามิดมาเป็นการขุดหลุมใต้ดินแล้วกลบทางเข้าแทน เพื่อไม่ให้หาเจอ ซึ่งถ้าเป็นความลับกันมากก็ไม่มีแผนที่ทิ้งไว้ ทำให้เกิดปัญหาการขุดทะลุไปเจอหลุมอื่น เสียหายกันอีก ปัญหาหนักสุดอยู่ที่คนงานนั่นล่ะ มักจะมีสร้างทางหนีทีไล่ของตัวเองไว้กลับมาขุดเจาะเสมอ บางรายก็ทำทางขุดทะลุมาจากแค้มป์ตัวเองที่นอกหุบเขากันเลย ทำกันเป็นศตวรรษจากรุ่นสู่รุ่น จนมัมมี่ของฟาโรห์เสียหายและสาบสูญหลายพระองค์

KV6, Valley of the Kings, Luxor, Egypt


KV 8 - Merenpah

KV8, Valley of the Kings, Luxor, Egypt

Merneptah หรือ Merenptah เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 19 ขึ้นครองราชย์ตอนอายุราว 70ปีและปกครองอยู่ 10ปี พระองค์ทรงเป็นบุตรคนที่ 13ของฟาโรห์รามสิสที่ 3 ตระกูลฟาโรห์นี้จะค่อนข้างสูง มัมมี่วัดได้ 1.73 ซม

เสียดายที่หลุมศพนี้วางจุดไว้ไม่ดี เพราะเป็นทางน้ำผ่านเวลาเกิดน้ำท่วม จึงทำให้หลุมศพนี้ได้รับการเสียหายมาก และยังคงอยู่ในการซ่อมแซม

KV8, Valley of the Kings, Luxor, Egypt

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับราชวงศ์อียิปต์โบราณอีกเรื่องคือการแต่งงานกันในครอบครัว น่าจะมาจากความเชื่อที่ว่าเทพโอซิลิสแต่งงานกับเทพไอซิส เพื่อการคงไว้ซึ่งสายเลือดที่สมบูรณ์ pure blood เราจะเห็นได้ง่ายๆเลยจากชื่อของราชินี บุตรสาวคนแรกจะตั้งขื่อตามมารดาเสมอ จึงง่ายที่จะไล่กลับว่าใครเป็นลูกใคร อย่างที่เราเห็นชื่อคลีโอพัตราหลายรุ่นเลย แต่ที่จริงการแต่งงานกันในเครือญาติใกล้ Inbreed Marriage นั้น ค่อนข้างไม่ดีต่อลูกหลานที่สืบเชื้อสาย ทำให้เด็กที่เกิดมาพิกลพิการเช่นในเคสของฟาโรห์ตุตันคาเมน Tutankhamun ที่ได้ชื่อว่า The Boy King ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่อายุ 10ปีและเสียชีวิตในวัยเพียง 19ปี จากการเอามัมมี่ของพระองค์มาศึกษาพบว่ามีกระดูกเบี้ยวอยู่หลายจุด และขาไม่เท้ากัน ทำให้ต้องเดินกระแพลกตลอดชีวิต รองพระบาทของพระองค์ยังจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ไคโร และพระองค์ก็แต่งงานกับน้องสาวอีก จึงให้กำเนิดบุตรที่เสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรถ์ถึง 2 คน


Tutankhamun

สุสานที่มีคนเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดคือของฟาโรห์ตุตันคาเมน ซึ่งเป็นฟาโรห์ในราชวงค์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ และขึ้นครองราชย์ในวัยเพียง 10ปี แต่เสียชีวิตด้วยวัย 19ปีจากการติดเชื้อเพราะขาหักไม่ได้สิ้นพระชนม์เพราะถูกปลงพระชนม์ ตามที่เชื่อกันมานาน (ก็เหตุมันฟังไม่ขึ้น ไม่ค่อยได้ยินว่ามีคนเสียชีวิตจากอาการขาหัก...) ว่ากันว่าสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมนที่มีสมบัติมากมายที่จัดแสดงแตกเป็นหลายห้องในพิพธิภัณไคโรนั่นเป็นสุสานที่เล็กที่สุดในหุบเขานี้ ปัจจุปันในตัวสุสานไม่มีอะไรเหลือ เพราะเอาไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ไคโรหมดแล้ว

หลุมศพของตุตันคาเมนถือว่ามีสมบัติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับ Rammesse VI ฟาโรห์รามเสสที่ 6 ที่มีสุสานใหญ่โตติดกัน ว่ากันว่าเป็นการสร้างทับทางเข้าสุสานของ ฟาโรห์ตุตันคาเมน โดยคิดว่าเป็นปากหลุมคนธรรมดา ทำให้โจรที่เข้าปล้นสมบัติในช่วงกว่าพันปีมองข้ามและไม่ได้แตะต้องสุสานตุตันคาเมน การค้นพบนี้โด่งดังหลายเรื่องตั้งแต่ห้องสมบัติที่สมบูรณ์แบบ เต็มไปด้วยของมีค่าและเป็นทองคำล้วนๆมากมาย ที่โลกตะวันตกตื่นเต้น (อ่านต่อเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ไคโร https://www.gooutseeworld.com/post/egypt)

สมบัติของตุตันคามุนที่ถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ไคโร

เรื่องของคำสาบฟาโรห์ที่คนเอามาเขียนเป็นนิยาย กล่าวถึง นายโฮเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) นักโบราณวิทยาชาวอังกฤษและ ลอร์ดคาร์นาร์วอน (Lord Carnarvon) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินของเขา ที่ใช้เวลาถึง 10 ปี ในการขุดค้นสุสาน ในหุบเขาแห่งกษัติย์ แต่กลับค้นพบโดยบังเอิญเพราะลูกของคนงานเล่นลูกบอลแล้วทำตกลงไปในร่อง นับตั้งแต่สุสานถูกเปิด ผู้ร่วมพิธีเปิดคณะแรกที่ได้เข้าสู่สุสานของตุตันคาเมนในวันที่ 4 พ.ย. 1922 เสียชีวิตไป 22 คนอย่างน่าพิศวง ด้วยอาการไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุและค่อยๆ ตายลงอย่างลึกลับ รวมถึงลอร์ดคาร์นาร์วอน เหลือแต่คาร์เตอร์ที่ยังใช้ชีวิตต่อมาอีกหลายสิบปีก่อนถึงแก่กรรมอย่างสงบ ตั้งแต่การค้นพบครั้งนี้ นักโบราณคดีทั่วโลกเดินทางมาแสวงโชคที่อียิปต์และมีการขุดเจออยู่เสมอ เพียงแต่ยังไม่มีการค้นพบใดมีค่าเท่าสุสานของตุตันคาเมน ในปี 2005 มีการขุดเจอหลุมใหม่ที่ใช้ชื่อว่า KV63 ซึ่งอยู่ห่างจากห้องฝั่งศพของตุตันคาเมนเพียง 15เมตรเท่านั้น มีมัมมี่มากมายในหลุมนี้ แต่ต่อมาพิสูจน์แล้วว่าเป็นเพียงสถานที่ทำมัมมี่เท่านั้น

Rest Area, Valley of the Kings, Luxor, Egypt

ถ้าคิดว่าในหุบเขาแห่งกษัติย์จะมีร้านขายของที่ระลึกหรือร้านกาแฟถือว่าผิดถนัด เมื่อเข้าไปด้านใน จะไม่มีแม้แต่ห้องน้ำให้เข้า ถึงอย่างไรเขาให้ชมได้แค่ 3 จาก 8 แห่งเท่านั้น ฉะนั้นนักท่องเที่ยวจะเยี่ยมชมกันไม่นานมาก 3-4ชั่วโมงอย่างมากก็กลับออกไป เห็นบ้างกลุ่มที่ไม่ได้ชื่นชอบโบราณคดี เดินแค่เข้าก็ออกเลย

Hatchepsut's Tomb

ฟาโรห์เฮดเชพซุส Hatchepsut เป็นฟาโรห์หญิง ผู้ปกครองอียิปต์ไม่ได้มีเฮดเชพซุสเป็นผู้หญิงคนแรก แต่เป็นคนที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้ราชวงศ์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ พระองค์ปกครองให้ช่วงปี 1478 ก่อนคริสตกาล เป็นบุตรสาวคนเดียวอันเกิดจากมเหสีเอกของฟาโรห์ทุทโมเซสที่ 1 Thutmose I และเป็นทั้งพี่สาวและภรรยาของทุทโมเซสที่ 2 Thutmose II และมารดาของฟาโรห์ทุทโมเซสที่ 3 Thutmose III ที่ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ

ฟาโรห์เฮดเชพซุสเจริญการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านและขยายอาณาเขตโดยไม่ได้ใช้กำลังทางการทหารนัก แต่ใช้ความรุ่งเรืองทางการค้า ทำให้ปลอดสงครามกว่า 22ปีในช่วงที่พระองค์ปกตรอง ในประวัติศาสตร์อียิปด์จารึกถึงยุคที่รุ่งเรืองและมั่งคั่งมากในช่วงปกครองของฟาโรห์เฮดเชพซุส พระองค์เสียชีวิตในวัย 50ปีด้วยโรคกระดูก

สุสานนี้ถูกสร้างในรูปแบบที่ทันสมัยไม่เหมือนสุสานใดในหุบเขานี้ (อันที่จริงสุสานนี้ไม่ได้อยู่ในหุบเขาภายใน แต่อยู่นอกทางเข้า) ว่ากันว่าคนที่ออกแบบสุสานนี้ (ในยุคอียิปต์โบราณหัวหน้านักบวชควบรวมการดูแลราชสำนักและศาสนาทั้งหมด) เป็นคู่รักของฟาโรห์เฮดเชพซุส สุสานนี้จึงถูกออกแบบให้เป็นเทวสถานที่บูชาเทพด้วย และสร้างออกมาในรูปแบบเปิดแบ่งออกเป็น 3 ชั้น โดยมีภูเขาเป็นฉากหลัง ด้านในสุดเป็นสุสานซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากที่เคยมีมาในยุคนั้นและเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมของยุค New Kingdom รสนิยมของเฮดเชพซุสถือว่าไม่ธรรมดาเลย

แม้จะสร้างความรุ่งเรืองเพียงใดแต่ชื่อของฟาโรห์เฮดเชพซุสก็ถูกลบออกจากจารึกทุกอย่าง แม้กระทั่งเสาโอเบสิสก์ของพระองค์ก็ถูกเอาปูนมาโบกทับเพื่อลบชื่อให้หายไป แต่กลับทำให้แท่งจารึกนั่นไม่ถูกทำลายมากว่า2พันปี โดยฟาโรห์ทุทโมเซสที่ 3 ซึ่งเป็นโอรสเองเป็นผู้ที่พยายามโบกทับชื่อของมารดา เรื่องราวชีวิตของเฮดเชพซุสก็น่าอ่านไม่แพ้นวนิยายเล่มหนาๆเลยทีเดียว

แต่ความดีไม่ได้โดนบดบัง ชื่อของเฮดเชพซุสถูกเอากลับมาเล่าขานใหม่โดยนักประวัติศาสตร์และถูกเผยแพร่ต่อมาจากการค้นพบของสุสานนี้ จิตรกรรมฝาพนังที่นี้สวยมาก ต้องไม่พลาดที่จะเข้าไปด้านในของวิหาร และรูปปั้นของฟาโรห์เฮดเชพซุสก็แปลกตามากกว่ารูปปั้นอื่นๆและวางเรียงรายเป็นทางยาวตลอดตัววิหาร

นักโบราณคดีกำลังซ่อมแซมโบราณวัตถุที่หน้าวิการของเฮดเชพซุส

ถ้ามีคนถามว่าจะกลับมาอียิปต์อีกไหม คือกลับไปแน่นอน เพราะหลงเสน่ห์ความสวยงามของวิหารโบราณ และเรื่องเล่าลี้ลับของยุคอียิปต์โบราณ ยังมีอีกมากหลายที่ที่ยังไม่ได้ไปดู อย่างน้อยที่ Valley of the Kings ก็มีสุสานฟาโรห์อีก 8 แห่งในหุบเขาแห่งกษัติย์ที่จะไปชมเพิ่ม

 

Hieroglyphic เฮียโรกลิฟิค อักษรอียิปต์โบราณ

Hieroglyphic เฮียโรกลิฟิค อักษรอียิปต์โบราณ มาจากคำภาษากรีกแปลว่าการแกะสลักอันศักดิ์สิทธิ์ (จำได้ว่าตรั้งแรกที่เห็นอักษรเหล่าสมัยเป็นเด็ก รู้สึกตื่นเต้นและชื่นชอบมากถึงกับสร้า่งอักษรเลียนแบบ เป็นอีกษรตัวเองให้น้องสาวทำตาม แต่ยุ่งยากมากจนต้องเลิกล้ม จึงเข้าใจว่าทำไมชนชาติอื่นไม่ทำตามกัน แต่เป็นการใช้วิธีขีดหรือวาดลายเส้นที่ง่ายกว่าในการสื่บทอด) โดยอักษรเฮียโรกลิฟิคที่ใช้มีรูปเป็นภาพสลักบนหินด้วยเหล็กแหลม มีการประกอบตัวอักษรเข้าด้วยกันให้เป็นคำตั้งแต่ในสมัย Old Kingdom ราชอาณาจักรเก่า และอียิปต์ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์หลักการใช้ตัวพยัญชนะมาก่อนชาติใด ๆ ในโลกตะวันตกก่อนชาวฟินีเซียถึง 1,500 ปี

ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเทพเจ้า Thoth ธอร์ธเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรเหล่านี้ จึงเชื่อว่าอักษรที่ถูกสลักลงบนหินเหล่านี้คือ "คำพูดของเทพเจ้า" นามของใครที่ถูกสลักลงจะมีความศักดิ์สิทธิ์ด้วย ฉะนั้นการลบชื่อหรือทุบชื่อออกเท่ากับเป็นการทำลายตัวตนของผู้นั้น เวลาเข้าไปเยี่ยมที่ต่างๆที่มีจารึกบนกำแพง เราจะเห็นชื่อของฟาโรห์ถูกระบุในกรอบรูปวงรี วงรีนี้เรียกว่า cartouches

Hieroglyphic เฮียโรกลิฟิค อักษรอียิปต์โบราณ สังเกตุด้านล่างภาพคือชื่อของฟาโรห์ในกรอบวงรี

เมื่อมาถึงยุค New Kingdom ภาษาเริ่มเปลี่ยนไปมีการใช้ Hieratic เฮียราติคซึ่งอารมณ์ตัวเขียนย่อๆหวัดๆของเฮียโรกลิฟิค เพราะกว่าจะเขียนเฮียโรกลิฟิคเสร็จประโยคหนึ่งไม่ทันการณ์ และมีการใช้กระดาษปาปีรุส Papyrus ที่ทำจากหญ้าคล้ายกระดาษสา และน้ำหมึกเข้ามาแทนที่การสลักลงบนแผ่นหิน สะดวกในการส่งารและจัดเก็บกว่าเยอะ แต่อักษรเหล่านี้ก็เขียนกันในหมู่พระเท่านั้น จนมีการดัดแปลงอักษรภาพลดเหลือเพียง 24 ตัว เรียกตัวอักษร Demotic เดโมติค ขึ้นมาใช้คู่กันอีกโดยใช้กันในหมู่คนทำการค้าขาย ทำให้ชาวอียิปต์อ่านออกเขียนได้มากขึ้นอย่างมากในยุคนั้น แต่ต่อมาเมื่อกรีกเข้าปกครองในยุคราว 200ปีก่อนคริสกาล อักษรที่ใช้ก็เปลี่ยนเป็น Coptic คอปติกแทน จนในศตวรรษที่ 14 เมื่อจักรวรรดิ์ออตโตมานเข้าปกครอง อียิปต์ใช้ภาษาอาหรับแทนจนถึงทุกวันนี้

Hieroglyphic เฮียโรกลิฟิค อักษรอียิปต์โบราณถือเป็นภาษาที่ตายไปแล้ว จนในต้นศตวรรษที่ 19 มีการขุดพบแผ่นหินสีดำขนาด 1.40เมตร ที่เมือง Rosetta ในอียิปต์ ที่มีจารึกวิธีการอ่านทำให้ปริศนากว่า 2,000ปีถูกคลีคลาย

816 views

Comments


bottom of page